วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่12

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 30 สิงหาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 103
เวลาเข้าเรียน 08:00 - 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2


       อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 7-8คน อาจารย์แจกกระดาษให้แต่ละกลุ่มคิดกิจกรรม เกมประกอบการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา 1 เกม แล้วอธิบายวิธีการเล่นและตรงกับนักทฤษฎีคนไหน พร้อมบอกประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากเกมนี้
        * กลุ่มของดิฉันเลือก เกมถอดรหัสคำ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา



เกมถอดรหัสคำ


ภาพด้านบนซ้ายมือ
  • 1.ปากกา
  • 2.ปลาดาว
  • 3.รถไฟ
  • 4.ผีเสื้อ
  • 5.ถุงเท้า
ภาพด้านบนขวามือ
          วิธีการเล่น  
         ให้เด็กดูรูปที่ 1 และรูปที่ 2 มารวมกัน และให้บอกว่าภาพภาพนั้นเมื่อนำมารวมกันแล้ว คือคำว่าอะไร โดยใช้ภาพเป็นสื่อในการคิดและจินตนาการ

        นักทฤษฎี ตรงกับแนวคิดของบรูเนอร์
        บรูเนอร์เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางด้านสติปัญญาต่อเนื่อง  บรูเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้จากกระบวนการค้นคว้าด้วยตัวเอง
       ตัวอย่าง
            ทฤษฎีทางด้านสติปัญญาของมนุษย์
           ขั้นการเรียนรู้จากความคิด เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
      ประโยชน์ที่เด็กได้รับ
1.เด็กสามารถจินตนาการภาพที่เห็นว่าเป็นภาพอะไร และรูปที่เห็นเมื่อนำมารวมกันสามารถเกิดคำและความหมายใหม่ขึ้น
2.เด็กได้รับอิสระในการคิด การจินตนาการ
3.เด็กจะได้เรียนรู้ รู้จักคำศัพท์ใหม่ๆ มากขึ้น จากการนำภาพมารวมกัน

          เมื่อทุกกลุ่มทำเกมเสร็จแล้วอาจารย์โบว์ให้แต่ละกลุ่ม ออกมานำเสนอเกมของกลุ่มตัวเอง พร้อมเสริมกิจกรรมการเต้นประกอบจังหวะกับเพลง ก่อนนำเสนอด้วย
          กลุ่มของดิฉันนำเสนอเป็นกลุ่มที่2 ก่อนเข้าเนื้อหากลุ่มดิฉันชวนเพื่อนๆในห้องมาเต้นเพลง อู๊ด อู๊ด หมูอ้วน
            เพลง   อู๊ด อู๊ด หมูอ้วน
                       *อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด
                        อู๊ด อู๊ด เป็นเสียงของหมู
                        หมูอ้วนต้องมีมัน เป็นอาหารได้หลายหมู่
                        หมูย่าง หมูทอด หมูหัน แต่ตัวฉันไม่ใช่หมู 
                        (ซ้ำ)



ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รู้เกี่ยวกับวิธีการทำสื่อ ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ ได้รู้ว่าสื่อไหนที่เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น