วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่16

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 27 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 16 กลุ่มเรียน 103
เวลาเข้าเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

            สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรีน อาจารย์โบว์ให้นักศึกษา เขียน My Mapping สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย และบอกแนวข้อสอบ

 My Mapping สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รู้เรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาและนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริงในชีวิตประจำวันและในอนาคตต่อไป

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่15

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 20 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน 103
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

          ต้นชั่วโมงอาจารย์โบว์ให้นักศึกษาชมวีดีทัศน์ เรื่อง ภาษาธรรมชาติ 

หลังจากดูวีดีทัศน์จบแล้ว อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ5คน เพื่อทำแผนการสอน
ตัวอย่างการเขียนแผนการสอน
  • ชื่อ
  • จุดประสงค์
  • สาระ
          1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
          2. บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
          3. ธรรมชาติรอบตัว
          4. สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
  • ขั้นตอน
  • สื่อ
  • ประเมิน
   กลุ่มของดิฉันทำแผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง มะพร้าว

  • ชื่อ    "มะพร้าว"
  • จุดประสงค์  เพื่อให้เด็กรู้จักประโยชน์ของมะพร้าว
  • สาระ  สิ่งรอบตัวเด็ก
  • ขั้นตอน  ให้เด็กจับคู่ภาพเหมือนมะพร้าว โดยการสังเกตภาพที่เหมือนกัน จากสี รูปทรง   ต่างๆ เมื่อเด็กสามารถบอกหรือจับคู่ภาพเหมือนมะพร้าวได้ก็ให้เด็กมาใส่บล็อก
  • ขั้นสรุป  เด็กสามารถสังเกตภาพเหมือนจากมะพร้าวได้ เด็กรู้จักรูปทรงลักษณะ สี และ       สามารถบอกได้
  • ประเมิน   ใช้การสังเกตและแบบประเมิน

การนำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง มะพร้าว





ความรู้ที่ได้รับ
         ได้รู้เกี่ยวกับการสอนแบบภาษาธรรมชาติ และได้รับความรู้เรื่องการออกแบบแผนการเรียนการสอนที่ถูกต้อง สามารถนำไปปรับใช้ได้อนาคตได้

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่14

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 13 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 14 กลุ่มเรียน 103
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

        อาจารย์โบว์สอนเรื่องการไหว้ที่ถูกวิธีและให้นักศึกษาทุกคนปฏิบัติตาม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
         หลังจากนั้นอาจารย์โบว์ ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ4-5คน ออกแบบห้องเรียนหรือมุมต่างๆ ว่าอยากให้ห้องเรียนเรานั้นเป็นอย่างไร หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าห้อง ว่ามีมุมการจัดประสบการณ์อะไรบ้างและแต่ละมุมช่วยส่งเสริมทักษะทางภาษาได้อย่างไร
กลุ่มของดิฉันทำทั้งหมด 4 มุม คือ
  • มุมหนังสือ
  • มุมสัตว์โลกน่ารัก
  • มุมบ้านแสนสุข
  • มุมศิลปะ




ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รับความรู้ในเรื่องการจัดมุมประสบการณ์ต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง ทำให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้ ฝึกการคิดและจินตนาการในการสร้างห้องเรียนหรือมุมต่างๆมากขึ้น 

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่13

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 6 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 103
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

        อาจารย์โบว์สอนเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
  • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
หลักการ

  • สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ ปฎิบัติจริง เป็นผู้กระทำด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน
  • สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์
  • สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจา และไม้ใช่วาจา
          มุมประสบการณ์
  • มุมหนังสือ
  • มุมบทบาทสมมุติ
  • มุมศิลปะ
  • มุมเกมการศึกษา
  • ฯลฯ
          ลักษณะของมุม
  • มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
  • เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
  • บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ สี กระดาษ กรรไกร กาว
  • เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน ออกแบบ
          มุหนังสือ
  • มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆ
  • มีบรรยากาศที่สงบ และอบอุ่น
  • มีพื้นที่ในการอ่านลำพัง และเป็นกลุ่ม
  • มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน
          มุมบทบาทสมมุติ
  • มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่นได้
  • มีพื้นที่ที่เพียงพอ
          มุมศิลปะ
  • จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย
  • กรรไกร กาว สำหรับงานตัดและปะติด
  • มีพื้นที่ให้เด็กทำกิจกรรม
          มุมดนตรี
  • มีเครื่องเล่นดนตรีที่เป็นของเล่นและของจริง 
        สื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • สื่อของจริง
  • สิ่งของจำลอง
  • ภาพถ่าย
  • ภาพโครงร่าง
  • สัญลักษณ์
เมื่อสอนเนื้อหาเสร็จแล้ว อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทุกคนทำกิจกรรม คัดลายมือ ก-ฮ ให้เหมือนกับตัวอย่างที่อาจารย์ให้มา


ความรู้ที่ได้รับ
          ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยสามารถนำเรื่องการจัดมุมต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และกิจกรรมคัดลายมือช่วยให้ดิฉันเขียนพยัญชนะไทยได้สวยงามขึ้นและถูกต้องตามหลักภาษา

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่12

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 30 สิงหาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 103
เวลาเข้าเรียน 08:00 - 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2


       อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 7-8คน อาจารย์แจกกระดาษให้แต่ละกลุ่มคิดกิจกรรม เกมประกอบการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา 1 เกม แล้วอธิบายวิธีการเล่นและตรงกับนักทฤษฎีคนไหน พร้อมบอกประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากเกมนี้
        * กลุ่มของดิฉันเลือก เกมถอดรหัสคำ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา



เกมถอดรหัสคำ


ภาพด้านบนซ้ายมือ
  • 1.ปากกา
  • 2.ปลาดาว
  • 3.รถไฟ
  • 4.ผีเสื้อ
  • 5.ถุงเท้า
ภาพด้านบนขวามือ
          วิธีการเล่น  
         ให้เด็กดูรูปที่ 1 และรูปที่ 2 มารวมกัน และให้บอกว่าภาพภาพนั้นเมื่อนำมารวมกันแล้ว คือคำว่าอะไร โดยใช้ภาพเป็นสื่อในการคิดและจินตนาการ

        นักทฤษฎี ตรงกับแนวคิดของบรูเนอร์
        บรูเนอร์เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางด้านสติปัญญาต่อเนื่อง  บรูเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้จากกระบวนการค้นคว้าด้วยตัวเอง
       ตัวอย่าง
            ทฤษฎีทางด้านสติปัญญาของมนุษย์
           ขั้นการเรียนรู้จากความคิด เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
      ประโยชน์ที่เด็กได้รับ
1.เด็กสามารถจินตนาการภาพที่เห็นว่าเป็นภาพอะไร และรูปที่เห็นเมื่อนำมารวมกันสามารถเกิดคำและความหมายใหม่ขึ้น
2.เด็กได้รับอิสระในการคิด การจินตนาการ
3.เด็กจะได้เรียนรู้ รู้จักคำศัพท์ใหม่ๆ มากขึ้น จากการนำภาพมารวมกัน

          เมื่อทุกกลุ่มทำเกมเสร็จแล้วอาจารย์โบว์ให้แต่ละกลุ่ม ออกมานำเสนอเกมของกลุ่มตัวเอง พร้อมเสริมกิจกรรมการเต้นประกอบจังหวะกับเพลง ก่อนนำเสนอด้วย
          กลุ่มของดิฉันนำเสนอเป็นกลุ่มที่2 ก่อนเข้าเนื้อหากลุ่มดิฉันชวนเพื่อนๆในห้องมาเต้นเพลง อู๊ด อู๊ด หมูอ้วน
            เพลง   อู๊ด อู๊ด หมูอ้วน
                       *อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด
                        อู๊ด อู๊ด เป็นเสียงของหมู
                        หมูอ้วนต้องมีมัน เป็นอาหารได้หลายหมู่
                        หมูย่าง หมูทอด หมูหัน แต่ตัวฉันไม่ใช่หมู 
                        (ซ้ำ)



ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รู้เกี่ยวกับวิธีการทำสื่อ ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ ได้รู้ว่าสื่อไหนที่เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย 

สัปดาห์ที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 11 กลุ่มเรียน 103
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

ต้นชั่วโมงอาจารย์มีรูปภาพมาให้นักศึกษาดูและตอบว่าภาพที่เห็นต่อไปนี้คืออะไร
จากนั้นอาจารย์สอนเรื่องความรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
ความหมาย
  • วัสดุ อุปกรณ์ หรือ วิธีการต่างๆ
  • เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม จูงใจ ให้เด็กเกิดความสนใจ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา
  • เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา ประสบการณ์
ความสำคัญของสื่อการเรียนรู่ทางภาษา
  • เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
  • เข้าใจได้ง่าย
  • เป็นรูปธรรม
  • จำได้ง่าย เร็ว และนาน
1. สื่อสิ่งพิมพ์
  • สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
  • เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค
  • หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร แบบฝึกหัด พจนานุกรม
2. สื่อวัสดุอุปกรณ์
  • สิ่งของต่าง ๆ
  • ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ ตารางสถิติ กราฟ สมุดภาพ หุ่นมือ
3. สื่อโสตทัศนูปกรณ์
  • สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ 
  • คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น
4. สื่อกิจกรรม
  • วิธีการที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ ทักษะ
  • ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์
  • เกม เพลง การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน ทัศนศึกษา
5. สื่อบริบท
  • สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
  • สภาพแวดล้อม
  • ห้องเรียน บุคคล ชุทชน วัฒนธรรม
           หลังจากเรียนเสร็จ อาจารย์โบว์เปิดเสียงสัตว์ให้ฟังแล้วให้นักศึกษาฟังว่าเสียงที่ได้ยินนั้นคือเสียงอะไร  

เสียงที่ได้ยินทั้งหมดมี ดังนี้
          แมว    สุนัข     หมู     วัว   ไก่โต้ง   พ่อไก่            
ม้า     แม่ไก่     ลา    แพะ   เป็ด ลูกไก่ เสียงปรบมือ 

           และท้ายชั่วโมงอาจารย์โบว์ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทางด้านภาษา ดิฉันเลือกทำหนอน 



ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รับความรู้จากการทำสื่อที่สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้และสามารถประดิษฐ์เองได้ไม่ยากเลย สื่อที่ทำในวันนี้สามารถนำไปทำเป็นที่ตกแต่งหรือสามารถนำไปทำเป็นสื่อเพื่อใช้สอนเด็กได้