วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่16

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 27 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 16 กลุ่มเรียน 103
เวลาเข้าเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

            สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรีน อาจารย์โบว์ให้นักศึกษา เขียน My Mapping สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย และบอกแนวข้อสอบ

 My Mapping สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รู้เรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาและนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริงในชีวิตประจำวันและในอนาคตต่อไป

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่15

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 20 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน 103
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

          ต้นชั่วโมงอาจารย์โบว์ให้นักศึกษาชมวีดีทัศน์ เรื่อง ภาษาธรรมชาติ 

หลังจากดูวีดีทัศน์จบแล้ว อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ5คน เพื่อทำแผนการสอน
ตัวอย่างการเขียนแผนการสอน
  • ชื่อ
  • จุดประสงค์
  • สาระ
          1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
          2. บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
          3. ธรรมชาติรอบตัว
          4. สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
  • ขั้นตอน
  • สื่อ
  • ประเมิน
   กลุ่มของดิฉันทำแผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง มะพร้าว

  • ชื่อ    "มะพร้าว"
  • จุดประสงค์  เพื่อให้เด็กรู้จักประโยชน์ของมะพร้าว
  • สาระ  สิ่งรอบตัวเด็ก
  • ขั้นตอน  ให้เด็กจับคู่ภาพเหมือนมะพร้าว โดยการสังเกตภาพที่เหมือนกัน จากสี รูปทรง   ต่างๆ เมื่อเด็กสามารถบอกหรือจับคู่ภาพเหมือนมะพร้าวได้ก็ให้เด็กมาใส่บล็อก
  • ขั้นสรุป  เด็กสามารถสังเกตภาพเหมือนจากมะพร้าวได้ เด็กรู้จักรูปทรงลักษณะ สี และ       สามารถบอกได้
  • ประเมิน   ใช้การสังเกตและแบบประเมิน

การนำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง มะพร้าว





ความรู้ที่ได้รับ
         ได้รู้เกี่ยวกับการสอนแบบภาษาธรรมชาติ และได้รับความรู้เรื่องการออกแบบแผนการเรียนการสอนที่ถูกต้อง สามารถนำไปปรับใช้ได้อนาคตได้

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่14

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 13 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 14 กลุ่มเรียน 103
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

        อาจารย์โบว์สอนเรื่องการไหว้ที่ถูกวิธีและให้นักศึกษาทุกคนปฏิบัติตาม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
         หลังจากนั้นอาจารย์โบว์ ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ4-5คน ออกแบบห้องเรียนหรือมุมต่างๆ ว่าอยากให้ห้องเรียนเรานั้นเป็นอย่างไร หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าห้อง ว่ามีมุมการจัดประสบการณ์อะไรบ้างและแต่ละมุมช่วยส่งเสริมทักษะทางภาษาได้อย่างไร
กลุ่มของดิฉันทำทั้งหมด 4 มุม คือ
  • มุมหนังสือ
  • มุมสัตว์โลกน่ารัก
  • มุมบ้านแสนสุข
  • มุมศิลปะ




ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รับความรู้ในเรื่องการจัดมุมประสบการณ์ต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง ทำให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้ ฝึกการคิดและจินตนาการในการสร้างห้องเรียนหรือมุมต่างๆมากขึ้น 

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่13

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 6 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 103
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

        อาจารย์โบว์สอนเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
  • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
หลักการ

  • สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ ปฎิบัติจริง เป็นผู้กระทำด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน
  • สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์
  • สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจา และไม้ใช่วาจา
          มุมประสบการณ์
  • มุมหนังสือ
  • มุมบทบาทสมมุติ
  • มุมศิลปะ
  • มุมเกมการศึกษา
  • ฯลฯ
          ลักษณะของมุม
  • มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
  • เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
  • บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ สี กระดาษ กรรไกร กาว
  • เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน ออกแบบ
          มุหนังสือ
  • มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆ
  • มีบรรยากาศที่สงบ และอบอุ่น
  • มีพื้นที่ในการอ่านลำพัง และเป็นกลุ่ม
  • มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน
          มุมบทบาทสมมุติ
  • มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่นได้
  • มีพื้นที่ที่เพียงพอ
          มุมศิลปะ
  • จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย
  • กรรไกร กาว สำหรับงานตัดและปะติด
  • มีพื้นที่ให้เด็กทำกิจกรรม
          มุมดนตรี
  • มีเครื่องเล่นดนตรีที่เป็นของเล่นและของจริง 
        สื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • สื่อของจริง
  • สิ่งของจำลอง
  • ภาพถ่าย
  • ภาพโครงร่าง
  • สัญลักษณ์
เมื่อสอนเนื้อหาเสร็จแล้ว อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทุกคนทำกิจกรรม คัดลายมือ ก-ฮ ให้เหมือนกับตัวอย่างที่อาจารย์ให้มา


ความรู้ที่ได้รับ
          ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยสามารถนำเรื่องการจัดมุมต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และกิจกรรมคัดลายมือช่วยให้ดิฉันเขียนพยัญชนะไทยได้สวยงามขึ้นและถูกต้องตามหลักภาษา

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่12

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 30 สิงหาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 103
เวลาเข้าเรียน 08:00 - 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2


       อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 7-8คน อาจารย์แจกกระดาษให้แต่ละกลุ่มคิดกิจกรรม เกมประกอบการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา 1 เกม แล้วอธิบายวิธีการเล่นและตรงกับนักทฤษฎีคนไหน พร้อมบอกประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากเกมนี้
        * กลุ่มของดิฉันเลือก เกมถอดรหัสคำ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา



เกมถอดรหัสคำ


ภาพด้านบนซ้ายมือ
  • 1.ปากกา
  • 2.ปลาดาว
  • 3.รถไฟ
  • 4.ผีเสื้อ
  • 5.ถุงเท้า
ภาพด้านบนขวามือ
          วิธีการเล่น  
         ให้เด็กดูรูปที่ 1 และรูปที่ 2 มารวมกัน และให้บอกว่าภาพภาพนั้นเมื่อนำมารวมกันแล้ว คือคำว่าอะไร โดยใช้ภาพเป็นสื่อในการคิดและจินตนาการ

        นักทฤษฎี ตรงกับแนวคิดของบรูเนอร์
        บรูเนอร์เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางด้านสติปัญญาต่อเนื่อง  บรูเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้จากกระบวนการค้นคว้าด้วยตัวเอง
       ตัวอย่าง
            ทฤษฎีทางด้านสติปัญญาของมนุษย์
           ขั้นการเรียนรู้จากความคิด เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
      ประโยชน์ที่เด็กได้รับ
1.เด็กสามารถจินตนาการภาพที่เห็นว่าเป็นภาพอะไร และรูปที่เห็นเมื่อนำมารวมกันสามารถเกิดคำและความหมายใหม่ขึ้น
2.เด็กได้รับอิสระในการคิด การจินตนาการ
3.เด็กจะได้เรียนรู้ รู้จักคำศัพท์ใหม่ๆ มากขึ้น จากการนำภาพมารวมกัน

          เมื่อทุกกลุ่มทำเกมเสร็จแล้วอาจารย์โบว์ให้แต่ละกลุ่ม ออกมานำเสนอเกมของกลุ่มตัวเอง พร้อมเสริมกิจกรรมการเต้นประกอบจังหวะกับเพลง ก่อนนำเสนอด้วย
          กลุ่มของดิฉันนำเสนอเป็นกลุ่มที่2 ก่อนเข้าเนื้อหากลุ่มดิฉันชวนเพื่อนๆในห้องมาเต้นเพลง อู๊ด อู๊ด หมูอ้วน
            เพลง   อู๊ด อู๊ด หมูอ้วน
                       *อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด
                        อู๊ด อู๊ด เป็นเสียงของหมู
                        หมูอ้วนต้องมีมัน เป็นอาหารได้หลายหมู่
                        หมูย่าง หมูทอด หมูหัน แต่ตัวฉันไม่ใช่หมู 
                        (ซ้ำ)



ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รู้เกี่ยวกับวิธีการทำสื่อ ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ ได้รู้ว่าสื่อไหนที่เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย 

สัปดาห์ที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 11 กลุ่มเรียน 103
เวลาเข้าเรียน 08:30 - 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

ต้นชั่วโมงอาจารย์มีรูปภาพมาให้นักศึกษาดูและตอบว่าภาพที่เห็นต่อไปนี้คืออะไร
จากนั้นอาจารย์สอนเรื่องความรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
ความหมาย
  • วัสดุ อุปกรณ์ หรือ วิธีการต่างๆ
  • เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม จูงใจ ให้เด็กเกิดความสนใจ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา
  • เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา ประสบการณ์
ความสำคัญของสื่อการเรียนรู่ทางภาษา
  • เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
  • เข้าใจได้ง่าย
  • เป็นรูปธรรม
  • จำได้ง่าย เร็ว และนาน
1. สื่อสิ่งพิมพ์
  • สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
  • เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค
  • หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร แบบฝึกหัด พจนานุกรม
2. สื่อวัสดุอุปกรณ์
  • สิ่งของต่าง ๆ
  • ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ ตารางสถิติ กราฟ สมุดภาพ หุ่นมือ
3. สื่อโสตทัศนูปกรณ์
  • สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ 
  • คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น
4. สื่อกิจกรรม
  • วิธีการที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ ทักษะ
  • ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์
  • เกม เพลง การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน ทัศนศึกษา
5. สื่อบริบท
  • สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
  • สภาพแวดล้อม
  • ห้องเรียน บุคคล ชุทชน วัฒนธรรม
           หลังจากเรียนเสร็จ อาจารย์โบว์เปิดเสียงสัตว์ให้ฟังแล้วให้นักศึกษาฟังว่าเสียงที่ได้ยินนั้นคือเสียงอะไร  

เสียงที่ได้ยินทั้งหมดมี ดังนี้
          แมว    สุนัข     หมู     วัว   ไก่โต้ง   พ่อไก่            
ม้า     แม่ไก่     ลา    แพะ   เป็ด ลูกไก่ เสียงปรบมือ 

           และท้ายชั่วโมงอาจารย์โบว์ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทางด้านภาษา ดิฉันเลือกทำหนอน 



ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รับความรู้จากการทำสื่อที่สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้และสามารถประดิษฐ์เองได้ไม่ยากเลย สื่อที่ทำในวันนี้สามารถนำไปทำเป็นที่ตกแต่งหรือสามารถนำไปทำเป็นสื่อเพื่อใช้สอนเด็กได้ 


วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 10

     วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
     อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
     วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2556
     ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน 103
     เวลาเรียน 08:30 – 12:30 น.



        เนื่องจากสัปดาห์นี้อาจารย์จินตนาไม่ได้เข้ามาสอน จึงให้อาจารย์โบว์(อาจารย์พิเศษ) มาสอนทำสื่อในวันนี้แทน อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำสื่อ 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน สื่อชิ้นแรกที่ให้ทำ คือ หุ่นนิ้วมืออาเซียน  สื่อชิ้นที่2 คือ POP UP (ภาพเคลื่อนไหว)


หุ่นนิ้วมืออาเซียน 



POP UP




ความรู้ที่ได้จากการทำสื่อและการนำไปใช้
         ได้รู้ถึงวิธีการทำสื่อหุ่นนิ้วมือและPOP UP โดยสามารถประดิษฐ์เองได้ไม่ยากเลย และได้รู้จักธงชาติ การแต่งการของประเทศอาเซียน การเรียนสื่อในวันนี้เราสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและนำไปประยุกต์ใช้ในทำสื่อการสอนในอนาคตได้


วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 9

     วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
     อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
     วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2556
     ครั้งที่ 9 กลุ่มเรียน 103
     เวลาเรียน 08:30 – 12:30 น.


          การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์มีการตรวจสอบบล็อกของนักศึกษาแต่ละคนว่าควรปรับปรุงและแก้ไขอะไรบ้าง บางคนก็ทำบล็อกได้สวยงามและถูกต้อง บางคนอาจจะต้องไปแก้ไขปรับปรุงบ้างเล็กน้อย และอาจารย์ก็นำเพลงมาให้ร้องตามและให้หัดร้องโดยมีเพลงดังนี้

          เพลง สวัสดี
     สวัสดี สวัสดี ยินดีที่พบกัน
     เธอและฉัน พบกันสวัสดี

          เพลง ตบแผละ
     ตบแผละ ตบแผละ ตบแผละ 
     ปากใจตรงกันนั้นแหละ
     เรามาลองฝึกกัน
     จิต กาย สัมพันธ์กับปากนั้นแหละ

          เพลง บอกว่าน่ารักจัง
     บอกกับคนซ้ายมือ       ว่าน่ารักจัง
     บอกกับคนขวามือ        ว่าน่ารักจัง
     บอกกับเพื่อนทุกคน     ทุกๆคน
     บอกกับเพื่อนทุกๆคน   ไม่เว้นสักคน
     บอกกับเพื่อนทุกคน      ทุกคน
     บอกว่าน่ารักจัง

           เพลง แปรงฟัน
      แปรง ซิ แปรง แปรง ฟัน
      ฟัน หนู สวย สะอาด ดี

             เพลง ขอบคุณ ขอบใจ
      เมื่อผู้ใหญ่ใจดีให้ของ
      หนูหนูควรต้องนึกถึงพระคุณ
      น้อมไหว้กล่าวคำขอบพระคุณ
      เพื่อนมีใจเผื่อแผ่การุณ
      นึกถึงบุญคุณกล่าวคำขอบใจ

           เพลง ตาดู หูฟัง
      เรามีตาไว้ดู  เรามีหูไว้ฟัง
      คุณครูท่านสอนท่านสั่ง
      เราตั้งใจฟัง เราตั้งใจดู

ความรู้ที่ได้รับ
         ได้รู้จักการใช้เพลงภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย สามารถนำเพลงไปปรับใช้กับเด็กได้ และได้รู้จักว่าแต่ละเพลงสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กด้านใดได้บ้าง


วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 8

     วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
     อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
     วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2556
     ครั้งที่ 8 กลุ่มเรียน 103
     เวลาเรียน 08:30 – 12:30 น.

          ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยมีสอบกลางภาค

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 7

     วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
     อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
     วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2556
     ครั้งที่ 7 กลุ่มเรียน 103
     เวลาเรียน 08:30 – 12:30 น.


           อาจารย์เปิดเพลง เกาะสมุย ให้นักศึกษาทุกคนฟังและให้ทุกคนช่วยกันฟังจังหวะทำนองเพลง เนื้อเพลงว่าพูดถึงอะไรบ้าง
          หลังจากนั้น อาจารย์ได้สอนให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดยให้นักศึกษาทำเกี่ยวกับการให้ความรู้เด็กปฐมวัยในเรื่องต่างๆ เช่น สัตว์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ยานพาหนะ ฯลฯ 
       กลุ่มดิฉันได้หัวข้อเรื่องเกี่ยวกับ ผลไม้ โดยให้หัวข้อเรื่องว่า ผลไม้เมืองไทย โดยมีการวาดภาพประกอบ ในรูปนี้มันคือผลไม้อะไร เช่น มะพร้าว มังคุด ลำใย แตงโม ส้มโอ ฯลฯ

ความรู้ที่ได้รับ
         ได้ฝึกจินตนาการสร้างสรรค์ในการออกแบบผลงาน และกิจกรรมที่ทำในวันนี้สามารถนำไปเป็นสื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้อีกด้วย


วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 6

     วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
     อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
     วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2556
     ครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน 103
     เวลาเรียน 08:30 – 12:30 น.

          ดิฉันหยุดเรียน เนื่องจากเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัดในวันหยุดยาว วันอาสาฬหบูชาและวันวันเข้าพรรษา

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 5

     วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
     อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
     วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2556
     ครั้งที่ 5 กลุ่มเรียน 103
     เวลาเรียน 08:30 – 12:30 น.


          ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาฟังเพื่อนๆที่ออกไปรายงาน โดยแต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองานกลุ่ม

กลุ่มที่3 เรื่องพัฒนาการทางด้านสติปัญญาแรกเกิดถึง 2 ปี
กลุ่มที่4 เรื่องพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี
กลุ่มที่5 เรื่องพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย 4-6 ปี
กลุ่มที่6 เรื่องทฤษฏีจิตวิทยาการเรียนรู้
กลุ่มที่7 เรื่องวิธีการเรียนรู้
กลุ่มที่8เรื่องการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่9 เรื่องพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่11 เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย


ความรู้ที่ได้รับ
           ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องทฤษฏีและเรื่องพัฒนาการต่างๆของเด็กปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้และรู้เทคนิคการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน ทำให้มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น 
           

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 4

     วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
     อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
     วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2556
     ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน 103
     เวลาเรียน 08:30 – 12:30 น.


          สัปดาห์กลุ่มของดิฉัน กลุ่มที่ 5 ออกมานำเสนองาน เรื่อง พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย 4-6 ปี






ความรู้ที่ได้รับ
          ได้ความรู้เพิ่มเติมจากเรื่องพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย 4-6ปี มากขึ้นจากการสืบค้นข้อมูล และได้พัฒนาเรื่องการพูด การนำเสนอให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น 

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 3

     วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
     อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
     วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2556
     ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 103
     เวลาเรียน 08:30 – 12:30 น.

          เนื่องในวันนี้มหาวิทยาลัยมีการจัดกิจกรรมการรับน้องใหม่ภายในมหาวิทยาลัย วันนี้เอกการศึกษาปฐมวัยก็มีรับน้องที่บริเวณโรงเรียนสาธิต โดยรุ่นพี่ปี 2-5 ก็เข้าร่วมกิจกรรม โดยรุ่นพี่ปี 2 มีหน้าที่สร้างฐานต่างๆ ในการรับน้องครั้งนี้สนุกมาก ทั้งได้เจอหน้ารุ่นพี่และน้องรหัส รับน้องวันนี้มีความสนุกสนาน ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส และเลอะโคลนกันโดยทั่วหน้ากับการเข้าฐาน




น้องรหัส

ความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์
                กิจกรรมรับน้องในวันนี้ ได้ฝึกความสามัคคี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ในกลุ่มเพื่อนและในเอกปฐมวัย ได้เห็นความร่วมมือกันในการทำกิจกรรมต่างๆ และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 2

     วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
     อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
     วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2556
     ครั้งที่ 2 กลุ่มเรียน 103
     เวลาเรียน 08:30 – 12:30 น.


          อาจารย์จินตนาให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 5 คน ให้นักศึกษาไปค้นคว้าข้อมูล ซึ่งดิฉันอยู่กลุ่มที่ 5ได้หัวข้อเรื่อง พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย 4–6ปี และมานำเสนอในสัปดาห์ถัดไป

ความรู้ที่ได้รับ
          ได้ฝึกความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมาย ความสมัคคีในกลุ่ม และได้รับความรู้เพิ่มเติมจากการศึกษาค้นคว้าเรื่องพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย 4-6ปี
          

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 1

     วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
     อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
     วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2556
     ครั้งที่ 1 กลุ่มเรียน 103
     เวลาเรียน 08:30 – 12:30 น.

          อาจารย์จินตนาได้สั่งงานให้นักศึกษาทุกคนทำ Blogger แฟ้มสะสมงาน พร้อมพูดถึงกฎระเบียบการแต่งกายที่ถูกระเบียบ


ภาพการแต่งกาย

ความรู้ที่ได้รับ
        ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่่องการทำ Blogger ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการช่วยจัดเก็บข้อมูลในการเรียนแต่ละสัปดาห์และรู้จักการแต่งกายให้เรียบร้อยตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย